ia

......หมวดสุกร

หมวดสุกรในรอบปีที่ผ่านมามีการปรับปรุงด้านการผลิตจากปีที่ผ่านอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำนวนลูกคลอดต่อแม่ และจำนวนลูกหย่านมต่อแม่ ที่มีค่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งมีผลทำให้รายได้จากหมวดสุกรเพิ่มขึ้นมากกว่าในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงการพัฒนาในด้านสมรรถนะการผลิตได้สูงสุดในฟาร์มสัตวศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตทางด้านอาหารสุกรมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้มาก ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงในด้านการจัดการการให้อาหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในปีต่อไป สำหรับสมรรถนะการผลิตของสุกรในหมวด มีดังนี้

จำนวนสัตว์ปัจจุบัน (สำรวจเมื่อ 30 ต.ค. 50)

 

จำนวน (ตัว)

สุกรให้นม

1,600

สุกรเล็ก

1,600

สุกรรุ่น

1,600

สุกรขุน

1,600

จำนวนพ่อพันธุ์

10

   - พันธุ์ LW

4

   - พันธุ์ LR

4

   - พันธุ์ DJ

2

จำนวนแม่พันธุ์

100

   - พันธุ์ LW

30

   - พันธุ์ LR

25

   - พันธุ์ DJ

25

   - พันธุ์ลูกผสม

20

สมรรถนะการผลิต

  1. จำนวนแม่ที่คลอดลูก (2 รอก/ปี)
  2. จำนวนลูกแรกคลอดรวม 1,116 ตัว
  3. จำนวนลูกแรกคลอดต่อแม่ 12 ตัว
  4. จำนวนลูกหย่านมต่อแม่ 9 ตัว

 

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

พื้นที่ทั้งหมด                                    26 ไร่   
อาคารโรงเรือนทดลองและสาธิต      2.5 ไร่

  1. โรงเรือนสุกรแม่พันธุ์ /อนุบาล/ลูกสุกรหย่านม
  2. โรงเรือนสุกรพ่อพันธุ์
  3. โรงเรือนสุกรขุนระบบเปิด
  4. โรงเรือนสุกรขุนระบบปิดปรับอากาศต้นแบบ

ในส่วนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยตลอดจนการบริการวิชาการด้านการฝึกอบรมต่างๆนั้น ทางหมวดสุกรต้องใช้พื้นที่ประมาณ 26 ไร่ ในการเตรียมสุกรพ่อแม่พันธุ์ 60 ตัว จำนวนลูกสุกรขุน 1,200 ตัว (ลูกสุกรขุน 4 ตัวต่อนักศึกษา 1 คน และลูกสุกรขุน 60 ตัวต่องานทดลอง 1 เรื่อง)


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตสุกรพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการจัดการลูกสุกร สุกรพันธุ์และสุกรขุนเบื้องต้น ได้แก่ การให้อาหาร การจัดการคอก การจัดการด้านของเสียจากมูลสุกร

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตสุกร สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการจัดการให้อาหารสุกรในระยะต่างๆ และผลกระทบจากสารพิษและการปลอมปนในอาหารสุกร การตรวจสุขภาพสุกร การฉีดยา การตรวจสัดและการผสมเทียม การถ่ายพยาธิ การตอน การตัดหูและสายสะดือ การวางแผนผังฟาร์ม ฝึกการเลี้ยงสุกรขุนและการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 7 รายวิชา

ได้แก่ 117 101 การผลิตสัตว์เบื้องต้น, 117 331 กายวิภาคศาสตร์, 117 402 การผลิตสุกร, 117 410 วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์, 117 432 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง, 117 437 พฤติกรรมสัตว์, 117 461 สุขศาสตร์สัตว์ เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการฟาร์มสุกรที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในภาคบรรยาย การศึกษาโครงสร้างกายวิภาคของสุกร และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากลูกสัตว์จนถึงพ่อแม่พันธุ์ในตัวสัตว์จริง ความแตกต่างของสายพันธุ์สุกร การเก็บตัวอย่างเลือด มูล และอื่นๆจากสุกรเพื่อตรวจสุขภาพ การฝึกเลี้ยงสุกรขุนจำนวน 4 ตัวต่อนักศึกษา 1 คน ตั้งแต่หลังหย่านมจนถึงน้ำหนักส่งตลาด มีการฝึกวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและแก้ปัญหาการจัดการ จำนวนนักศึกษา 75 คน/วิชา และต้องเตรียมสุกรเนื้อให้กับอาจารย์ผู้สอนพ่อแม่พันธุ์ 50-60 ตัว/ปี และสุกรขุน ประมาณ 300 ตัว/ปี

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดสุกรให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตสุกร เช่น การจัดการลดการตายในลูกสุกรก่อนหย่านม การหาสูตรอาหารทดแทนนมผงในลูกสุกร การใช้สมุนไพรแก้ปัญหาโรคขี้ไหลในสุกร การลดต้นทุนการผลิตสุกรขุน เป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 4-6 เรื่องต่อปี

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 4 คน, ปริญญาเอก จำนวน 2 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านสรีรวิทยา

การวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำน้ำเชื้อแช่แข็ง การจัดการด้านอาหารที่มีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ และระบบสรีรทางเดินอาหาร

งานวิจัยด้านการผลิตและโภชนศาสตร์สุกร

ปัจจุบันหมวดสุกรมีโครงการวิจัยทางด้านการใช้สมุนไพรในสัตว์เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง สกว และ วช ที่เล็งเห็นประโยชน์ทางด้านการผลิตเนื้อสุกรปลอดภัยจากสารปฏิชีวนะ และการจัดการสุขภาพของสุกรด้วยสารธรรมชาติ และมีงานวิจัยระดับปริญญาเอกด้านการผลิตสุกรอินทรีย์ (outdoor pig) นอกจากนี้ยังมีการวิจัยทางด้านการหาความต้องการกรดอะมิโน เพื่อปรับปรุงการเจริญเติบโตและเพิ่มเนื้อแดงในสุกรซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการลดต้นทุนการผลิต

งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์

ปัจจุบันนักวิจัยทางด้านพันธุกรรมสัตว์มีการวิจัยด้านการค้นหายีนที่เกี่ยวข้องกับการให้ลูกดก การเกิดไส้เลื่อนในสุกร และการเกิดอัณฑะทองแดง ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมตามความต้องการจากภาคเอกชน เนื่องจากเป็นปัญหาหลัก เพราะเป็นยีนที่แฝงมากับสุกรพ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้า หรือการซื้อขายจากฟาร์มที่มักไม่แจ้งในพันธุ์ประวัติ รวมถึงการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ รวมถึงการศึกษาองค์ประกอบทางพันธุกรรมในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สำหรับผลิตแม่สุกรสองสาย เป็นต้น


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดสุกรมีการบริการร่วมจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในด้านการผสมเทียมสุกร 1-2 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-40 คน

การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต

มีการสนับสนุนลูกสุกรให้กับชมรมต่างๆของมหาวิทยาลัย เช่น ค่ายอาสาพัฒนา ชุมนุมสัตวศาสตร์ ค่ายสาธารณสุข ฯลฯ และกิจกรรมรับน้องของภาควิชาฯและคณะต่างๆ ทั้งในรูปเนื้อสุกรเป็นอาหาร และลูกสุกรหย่านมเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มนักเรียนหรือเกษตรกรที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดสุกรให้บริการด้านเป็นต้นแบบในการศึกษาดูงานด้านการผลิตสุกรให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยการนำของผู้นำท้องถิ่น (อบต) นักวิจัยจากประเทศในกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว เวียดนาม จีน และผู้สนใจอื่นๆไม่ต่ำกว่า 50 คนต่อปี เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีระบบฟาร์มการผลิตสุกรระบบปิดปรับอุณหภูมิ (Evaporative cooling system) ที่ทันสมัยที่สุดเมื่อเทียบในหน่วยงานราชการ เป็นโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุนขนาดย่อม มีประสิทธิภาพเทียบได้กับภาคเอกชน มีระบบการให้อาหารอัตโนมัติ สามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้ เป็นต้นแบบที่เกษตรกรสามารถเข้าชมได้เนื่องจากทางภาคเอกชนส่วนใหญ่ไม่สามารถให้บริการด้านนี้ได้


แนวทางการพัฒนา

เนื่องจากแผนการผลิตสุกรสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัยในปัจจุบันนั้นจัดว่าเพียงพอเป็นไปตามแผนในแต่ละปี ทางหมวดสุกรจึงมีนโยบายในการเพิ่มจำนวนสุกรขุนด้านการผลิตเชิงธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้ตามนโยบายการพึ่งตนเองและเป็นการสร้างชื่อเสียงด้านการเป็นต้นแบบการผลิตจากโรงเรือนสุกรระบบปิดต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัย แต่ยังขาดในงบประมาณบางส่วนเพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพเต็มที่ เช่น ระบบการผลิตก๊าชชีวภาพจากมูลสุกรเพื่อใช้เป็นพลังงาน เชื่อมต่อกับโรงเรือนสุกรระบบปิดปรับอากาศที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ซึ่งในการเลี้ยงสุกรแต่ละรุ่น (ประมาณ 500 ตัว) จะมีมูลสุกรออกมาจำนวนมาก จึงต้องมีการกำจัดมลภาวะและให้มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบในการสร้างพลังงานทางเลือกให้กับสังคม


แผนที่หมวดสุกร

ดูรายละเอัียดแผนที่หมวดสุกร >> คลิ้กที่นี่


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดสุกร >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2550
  • สอนรายวิชา 117 083 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้งต่อปีการศึกษา มีนักศึกษาจำนวน 380 คน - สอนรายวิชา 117 084 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสร์ จำนวน 70 คน
  • สอนบทปฏิบัติการวิชา 117 402 การผลิตสุกร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสร์ จำนวน 77 คน
  • ให้คำปรึกษา จัดหาอุปกรณ์ในบทปฏิบัติการ ให้แก่นักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์
  • ให้บริการพันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์ โรงเรือนสำหรับการสอน ทำวิจัย วิทยานิพนธ์
  • บริการการเรียนการสอนวิชาสุขศาสตร์สัตว์ อาจารย์ยุพิน ผาสุข
  • บริการการสอน นายการันต์ กรรณิการ์ วิชา 117 432 ระบบสืบพันธุ์สัตว์เลี้ยง รีดน้ำเชื้อสุกรพ่อพันธุ์
  • บริการการเรียนการสอน อาจารย์สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ การคัดสัตว์เข้าฆ่า, การตัดแต่งซากสุกร
  • 2549
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 083 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์ 2 ครั้งต่อปีรวมนักศึกษา 278 คน
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 084 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • เป็นผู้ร่วมสอนบทปฏิบัติการวิชา 117 402 การผลิตสุกร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • ให้คำปรึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติการให้แก่นักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์
  • ให้บริการพันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์โรงเรือน สำหรับการสอน ทำวิจัย วิทยานิพนธ์
  • การเรียนการสอนวิชาสุขศาสตร์สัตว์ อ.ยุพิน ผาสุข
  • การเรียนการสอนวิชา 117452 พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อ.สจี กัณหาเรียง
  • การเรียนการสอนวิชา 117384 การฝึกงานหน่วย 4 นายมานิตย์ สนธิไชย
  • 2548
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 083 ฝึกงานหน่วย 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเกษตรศาสตร์
  • เป็นผู้สอนวิชา 117 084 ฝึกงานหน่วย 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • เป็นผู้ร่วมสอนบทปฏิบัติการวิชา 117 402 การผลิตสุกร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
  • ให้คำปรึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติการให้แก่นักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์
  • ให้บริการพันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์โรงเรือน สำหรับการสอน ทำวิจัย วิทยานิพนธ์

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2550
  • ปัญหาพิเศษ นายสุนทร เกรไกรสร นักศึกษาปริญญาโท
  • ปัญหาพิเศษ นางสาวนริศรา สวยรูป นักศึกษาปริญญาโท
  • 2549
  • วิทยานิพนธ์ นางสาวนวรัตน์ เสมะทนิษฐ์ เรื่อง ผลของการใช้สารสกัดฟ้าทลายโจรที่ควบคุมระดับสารออกฤทธิ์สำคัญทดแทนสารปฏิชีวนะสมรรถนะการผลิต การย่อยได้ ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพในลูกสุกรหย่านม
  • ปัญหาพิเศษนักศึกษาชั้นปีที่ 6 คณะสัตวแพทย์ นายวสันต์ ทะเย็น นายศรีลนย์ สรารัตน์ศิริโรจน์ และนาย อติ ศรีอักเศษ เรื่อง การเปรียบเทียบฤทธิ์ของสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่า Toltrazurit ในการป้องกันโรคบิดในลูกสุกร
  • ปัญหาพิเศษ นายสุนทร เกไกรสร นักศึกษาปริญญาโท
 
  • 2548
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของการใช้กากมันสำปะหลังเป็นแหล่งอาหารพลังงานทดแทนมันสำปะหลังเส้นในสูตรอาหารข้น ต่อขบวนการหมักในกระเพาะหมักความสามารถในการย่อยได้ และการเจริญเติบโตในโคนมรุ่น” ของ นายพีรพจน์ นิติพจน์ นักศึกษาปริญญาโท โคนมรุ่น จำนวน 18 ตัว และ คอกทดสอบ 18 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  • ปัญหาพิเศษเรื่อง “การใช้ GT 1000 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการหมักและการสืบพันธุ์ในโคนม” ของ นายนนทศักดิ์ เปี่ยมผล นักศึกษาปริญญาเอก ใช้โคนมแห้งไม่ท้อง จำนวน 16 ตัว และคอกทดสอบ 2 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของสัดส่วนของซังข้าวโพดกับฟางข้าวเป็นแหล่งของเยื่อใยในสูตรอาหารหยาบสำเร็จ รูป ต่อกระบวนการหมัก และการให้ผลผลิตของโคนม” ของ นายกรุง วิลาชัย นักศึกษาปริญญาโท ใช้โครีดนม จำนวน 4 ตัว คอกทดสอบ 4 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบผลของการแช่แข็งแบบลดอุณภูมิอย่างช้าและแบบ Vitrification ต่อคุณภาพตัวอ่อนโคนมที่คัดเพศด้วยเทคนิก PCR” ของนายสหัส นุชนารถ นักศึกษาปริญญาโท โคสาวจำนวน 6 ตัว คอกทดสอบ 1 คอก อาหารสัตว์สำหรับโคทดลอง เครื่องชั่งน้ำหนักและ อุปกรณ์ประจำคอก
  • วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของซีลีเนียมและไวตามินอี ต่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม” ของ นางนันทิยา สุวรรณปัญญา นักศึกษาปริญญาเอก ใช้โคสาว 12 ตัว และคอกทดลอง 12 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก
  • เรื่อง “การใช้อ้อยเป็นอาหารสัตว์ วช. 2546” งานวิจัยโครงการของ ผศ.ดร.กฤตพล สมมาตร ใช้โคสาว 15 ตัว คอกทดสอบ 15 คอก เครื่องชั่งน้ำหนักและอุปกรณ์ประจำคอก

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2550
  • 2549
  • โครงการเสริมทักษะการผลิตสัตว์ ชุมนุมสัตวบาล
  • โรงเรียนเทศบาลวัดกลางศึกษาดูงาน หมวดสุกรในระหว่างวันที่ 12-21 ก.ค. 2549
  • นักศึกษาภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ ศึกษาและดูงานหมวดสุกร จำนวน 35 คน ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2549
 
  • 2548